08
มิ.ย.

Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกยุคดิจิทัลที่คนไอทีต้องรู้

FAsirichai 0 comment

Blockchain แทรกซึมเข้ามาในชีวิตประจำวันในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา และมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นในหลากหลายวงการ ไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่หลายคนเข้าใจ ปัจจุบันเกือบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสาธารณสุข ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ภาครัฐก็ได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อทำให้การขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพสูงสด

ทำความรู้จักกับ Blockchain

           คือระบบโครงข่ายที่เก็บข้อมูลธุรกรรมออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางมายืนยัน (Centralize trusted party) มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลในเชิงสถิติและนำข้อมูลนี้มายืนยันการมีตัวตน ลดเวลาการจัดการ เพิ่มศักยภาพในแต่ละอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ สะดวก รวดเร็วโดยผู้ทำธุรกรรมทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน

           โดยทำงานอยู่บนเครือข่าย Peer-to-peer (P2P) ที่ใช้ Protocol ร่วมกันในการสื่อสารระหว่าง Node ในการยืนยันความถูกต้องของแต่ละ Block ข้อมูลถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หลักหนึ่งชุด และจะสำเนาข้อมูลชุดเดียวกันไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็จะเปลี่ยนเหมือนกันโดยอัตโนมัติ หมดกังวลเรื่องระบบล่ม

 

           ระบบการทำงาน

           จากปัจจัยต่าง ๆ รอบตัว มีการทำงานหลักแบ่งเป็น ด้าน ได้แก่ การเก็บข้อมูล และการทำธุรกรรม การเก็บข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น โฉนดที่ดิน สิทธิบัตรต่าง ๆ อัตลักษณ์บุคคล การซื้อขายหลักทรัพย์ การเรียกร้องค่าสินไหม ข้อมูลสำมะโนประชากรที่ใช้ในการเลือกตั้ง ข้อมูลด้านสาธารณสุขที่ใช้แชร์กับผู้ให้บริการ คนไข้ บริษัทประกัน นักวิจัยทำงานร่วมกัน ส่วนด้านการทำธุรกรรมที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดบทบาทตัวกลาง เช่น Mobile Banking, ePayment การชำระเงินผ่าน Cryptocurrency การทำธุรกรรมข้ามพรมแดน หรือ Trade finance เป็นต้น

 

           ข้อจำกัดของ Blockchain

           อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังมีข้อจำกัดที่นักพัฒนาระบบควรรู้ เพราะเป็นเพียงเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่ต้องนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำธุรกรรม หรือกิจกรรมเกี่ยวกับข้อมูล แต่ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบฐานข้อมูลดั้งเดิม ทั้งยังจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรไฟฟ้าจำนวนมากในการประมวลผลข้อมูล (โดยเฉพาะระบบที่ใช้ Proof-of-work) นักพัฒนาระบบจำเป็นต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักที่จะพัฒนา และนำจุดแข็งของเทคโนโลยีนี้มาใช้ให้เหมาะสมกับงาน

Share
0 comment

โพสต์