23
มิ.ย.

Top 8 ทักษะ IT ที่ตลาดงานต้องการสูง

FAsirichai 0 comment

1.ทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน (Basic Coding)

ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้อยากเป็น Programmer ที่เขียน Code เป็นอาชีพหลัก แต่เคล็ดลับคือการรู้ Coding เพียงเบื้องต้นก็ช่วยให้คุณฮอตมากขึ้นในตลาดงานดิจิทัล เพราะมันเป็นเครื่องการันตีว่าคุณเข้าใจ Code ที่คนอื่นเขียนได้ในระดับหนึ่ง หรือเขียน Code ง่ายๆ บางอย่างได้ หรือกระทั่งมีความเข้าใจในเรื่อง Project IT ได้แบบลึกซึ้งมากกว่าคนที่ไม่รู้ Code เลย นอกจากนี้ยังช่วยให้คิดอย่างเป็นระบบและมีตรรกะ ซึ่งสำคัญต่อการทำงานในหลายๆอาชีพ โดย TIOBE บริษัทซอฟต์แวร์ที่จัดอันดับความนิยมภาษาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง ได้แนะนำ 5 อันดับภาษาเขียนโปรแกรมยอดฮิตที่มีคนเสิร์ชหามากที่สุด ได้แก่ ภาษา C, Python, Java, C++ และ C#

2.การใช้แพลตฟอร์มแบบ Low-Code (LOW-CODE Platform)

มีบทความหนึ่งในแมกกาซีน Bloomberg คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2024 หรืออีกแค่ 2-3 ปีข้างหน้า 65% ของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะเป็นในรูปแบบ Low-Code หรือคือการใช้ Code น้อยนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ มี Tool ประเภทที่เรียกว่า Low-Code application platforms (LCAP) เช่น Mendix, Quixy, และ Microsoft PowerApps เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ความรู้ด้าน Programming / Coding เพียงเล็กน้อย บวกกับความคิดแบบเทคฯ (Tech Mindset) ก็สามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบง่ายๆได้ ซึ่ง LCAP จะกลายมาเป็นตัวช่วยชีวิตของเหล่า Manager และ Marketer ที่ไม่ได้มีทักษะในด้านการพัฒนาโปรแกรมมากนัก ให้สามารถสร้าง ทดลอง อัปเดตโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย แบบไม่ต้องเสี่ยงต่อการทำอะไรพัง

3.ออกแบบ Interface และประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UI/UX Design)

การออกแบบ UI/UX เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำ Research และการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และมีประโยชน์ ซึ่งถ้าเราไม่ได้อยากจะเป็น Designer ขอเพียงแค่รู้และเข้าใจเรื่อง UI/UX เพียงเบื้องต้น และเทรนด์การออกแบบก็เพียงพอแล้ว เพื่อที่จะได้สื่อสารกับ Designer ตัวจริงรู้เรื่อง นอกจากนี้ในฐานะคนทำงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตามการมี Empathy ต่อผู้ใช้งานถือเป็นทักษะสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะจะช่วยให้ทุกขั้นตอนการทำงานตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริงมากที่สุด

4.วิศกรรมข้อมูล(Data Engineering)

โดยพื้นฐานแล้ว วิศกรรมข้อมูล (Data Engineering) เป็นการรวมหลายๆศาสตร์ IT เข้าด้วยกัน ทั้งเรื่องวิศวกรรมซอฟต์แวร์, Big Data, การวิเคราะห์ข้อมูล และ วิศวกรรม Cloud Computing งานโดยทั่วไปของนักวิศกรข้อมูลได้แก่ รวบรวมและจัดการข้อมูล ผนวกรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่งมาวิเคราะห์ผล Optimize และลดค่าใช้จ่ายของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ซึ่งทักษะจำเป็นพื้นฐานได้แก่ Python SQL Java หรือ Scala รวมถึงการใช้ Cloud Computing Platforms เช่น Amazon Web Services (AWS) และเทคโนโลยีประมวลผล Big Data เช่น Hadoop, Spark และ Kafka นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอัลกอริทึม และโครงสร้างข้อมูลด้วย

5. การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization)

เป็นที่ทราบกันดีว่าสมองมนุษย์เราทำความเข้าใจและจดจำข้อมูลในรูปแบบภาพได้ดีกว่า ในบริบทการทำงานเชิงธุรกิจก็เช่นกัน การแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization) กลายเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญในยุคนี้ มีงานวิจัยจาก Tableau ผู้ให้บริการ Tool ด้าน Data ระบุว่าองค์กรที่มีการใช้เครื่องมือแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ 28% ของคนทำงานมีแนวโน้มจะหาข้อมูลมากกว่าองค์กรที่มีเพียง Dashboard และรายงานข้อมูลแบบแห้งๆ การแปลงข้อมูลให้เป็นภาพเป็นส่วนหนึ่งของทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจประเมิน และแสดงผลออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม และจัดการได้ง่ายผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น Tableau, Google Data Studio, PowerBI, Datawrapper และ Infogram

6.ตัดต่อวีดิโอ (Video Editing)

หลายคนเห็นข้อนี้อาจจะงงว่า เอ๊ะ ฉันไม่ได้อยากจะเป็น Youtuber สักหน่อย ทำไมต้องตัดต่อวีดิโอเป็น ข้อมูลจาก Wyzowl บริษัทผู้ผลิตสื่อวีดิโอเพื่อการตลาดจากประเทศอังกฤษระบุว่าในปี 2021 มีธุรกิจกว่า 86% ทำการตลาดโดยการใช้วีดิโอ ไม่แปลกเลยที่ทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นมารองรับมากมาย ทั้ง Youtube Tiktok IG Story หรือ LINE Voom ทุกคนล้วนหันมาลงเล่นในตลาด Video Content ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของการทำการตลาดเท่านั้น สื่อวีดิโอยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ช่วยแนะนำให้ลูกค้าใช้งานผลิตภัณฑ์ (Client Onboarding) หรือการเทรนพนักงานในองค์กร (Employee Training) เพราะเป็นสื่อที่คนเปิดใจให้ง่ายมากที่สุด

ดังนั้นการมีทักษะเรื่องการตัดต่อวีดิโอ เขียนสคริป หรือกระทั่งการทำ SEO ย่อมเป็นทักษะที่จะช่วยเพิ่มความฮอตให้ Resume ของคนหางานยุคนี้ได้อย่างไม่ต้องสงสัย

7.การใช้ระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRMS)

การทำ Customer Relationship Management (CRM) เป็นหัวใจสำคัญของการขายที่ดีในยุคนี้ ในยุคที่ผู้บริโภคมีความต้องการหลากหลาย ธุรกิจจำเป็นจะต้องมองภาพกลุ่มเป้าหมายให้ครบรอบด้าน ทั้งในเรื่องสื่อ พฤติกรรมการซื้อ และประสบการณ​์ของลูกค้า นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ทักษะการใช้ CRM Software (CRMS) ได้ในระดับพื้นฐานกลายเป็นหนึ่งในทักษะที่มักถูกระบุไว้ใน Job Descriptions ของงานสายบริหารและการตลาดในปัจจุบัน

8.การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Management)

นี่เป็นหนึ่งในทักษะที่ตลาดต้องการแย่งชิงตัวกันมากที่สุดในตอนนี้ ทุกองค์กรและบริษัทที่มีโปรเจคการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแล บริหารจัดการผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดมากที่สุดภายด้วยเวลาและทรัพยากรที่มี โดยทักษะหลักๆของการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์คือ การลำดับความสำคัญ (Prioritizing) การบริหารจัดการ (Managing) และ ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills)

ตลาดงาน IT มีการแข่งขันด้านทักษะความสามารถกันอย่างดุเดือดมากขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมของผู้คนที่มีไฟและเทคโนโลยีใหม่ๆมาขับเคลื่อน ผลตอบแทนมีความคุ้มค่า และมีอนาคตที่มีทางไปได้ไกลและหลากหลายกว่าสายอาชีพอื่นๆ หากต้องการอยุ่รอด หรือเข้าสู่ตลาดงานสายนี้ จำเป็นจะต้องมีทักษะที่เหนือและครอบคลุมกว่าคู่แข่ง เป็นสายงานที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบความท้าทาย และต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้ทักษะและหน้าที่การงานเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยีไม่เคยอยู่นิ่ง

Source: hrforecast  
————————————————-

Share
0 comment

โพสต์